วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ทำไมต้องมีศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์

ทำไมต้องมีศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ ?
          ไทยมีความสัมพันธ์กับต่างชาติด้วยเหตุผลหลายประการ มีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ด้วยวิธีการทับศัพท์ และบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ ทั้งในวิชาการและทั่วไป การศึกษาเรื่องการใช้คำในภาษาไทย จะช่วยให้สามารถใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
      การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยมี ๒ วิธี คือ การทับศัพท์ที่เรียกว่า คำทับศัพท์ และการบัญญัติศัพท์ที่เรียกว่า ศัพท์บัญญัติ




คำทับศัพท์


คำทับศัพท์

       คำทับศัพท์ คือ คำที่ถ่ายเสียงและ/หรือถ่ายรูป มาจากรูปคำในภาษาอื่น และนำมาเขียนในรูปแบบของภาษาเราเพื่อให้คนที่ใช้ภาษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยใกล้เคียงกับภาษาเดิม  คำทับศัพท์นั้นยืม    มาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น   ทมิฬ เปอร์เซียร์ อาหรับ ญี่ปุ่น โปรตุเกส  ฝรั่งเศส ฮินดี พม่า มอญ

ตัวอย่างคำทับศัพท์

- ภาษาทมิฬ เช่น กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ตะกั่ว ปะวะหล่ำ ยี่หร่า   สาเก อาจาด กะละออม กะหรี่ (ชื่อแกงชนิดหนึ่ง)
- ภาษาเปอร์เซีย เช่น กากี กาหลิบ กุหลาบ เกด (องุ่นแห้ง) เข้มขาบ (ชื่อผ้า) คาราวาน ชุกชี   (ฐานพระประธาน) ตาด (ผ้าไหมปักเงินหรือทองแล่ง) ตรา (เครื่องหมาย) ตราชู (เครื่องชั่ง)   บัดกรี (เชื่อมโลหะ) ปสาน (ตลาด) ฝรั่ง (คำเรียกชาวยุโรป) ราชาวดี (พลอยสีฟ้า) สุหร่าย   (คนโทน้ำคอแคบ) องุ่น สักหลาด ส่าน (ผ้าคลุมกายหรือหน้า) เยียรบับ (ผ้าทอยก ดอกเงิน     หรือทอง)
- ภาษาอาหรับ เช่น กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น โก้หร่าน
     - ภาษาญี่ปุ่น เช่น เกอิชา กิโมโน คามิคาเซ่ คาราเต้ เคนโด้ ซามูไร ซูโม่ ซากุระ เทมปุระ ฟูจิ   สุกี้ยากี้ ยูโด
     -ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ กัมปะโด ปิ่นโต กะละแม กะละมัง จับปิ้ง เลหลัง บาทหลวง ปัง ปิ่นโต เหรียญ 
     -ภาษาฝรั่งเศส เช่น กงสุล กรัม กาสิโน กาแฟ กาเฟอีน กิโยติน กิโลกรัม กิโลลิตร  โก้เก๋ เชมเปญ โชเฟอร์ คูปอง เปตอง ปาร์เกต์ คาเฟ่ ครัวซองท์ บุฟเฟต์
     -ภาษาฮินดี เช่น อะไหล่ ปาทาน
     -ภาษาพม่า เช่น หม่อง กะปิ ส่วย

     -ภาษามอญ เช่น มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน




ศัพท์บัญญัติ


          ศัพท์บัญญัติ
             คือ คำศัพท์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทาง
     ราชการ และการเรียนการสอน ผู้ออกศัพท์บัญญัติในปัจจุบันคือ
     ราชบัณฑิตยสถาน  

         ศัพท์บัญญัติภาษาไทยที่ใช้มักจะมาจากภาษาอังกฤษศัพท์บัญญัติ
    จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ รัฐศาสตร์ 
    การเชื่อมพลังงาน  ประชากรศาสตร์ พฤกษศาสตร์  ปรัชญา ประกันภัย วรรณกรรม   ปรับอากาศ สัทศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ ทันตแพทยศาสตร์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์ 
    
          ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ
         แฟลต , อพาร์ตเม้นต์                          = ห้องชุด
         คอมพิวเตอร์                                    = คณิตกร
         ดีวีดี                                              = แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตอล
         ปริ้นเตอร์                                        = เครื่องพิมพ์
         อินฟีนีตี้                                           = อนันต์
         ซิมการ์ด                                          = บัตรระบุผู้เช่า
         ซิม                                                = มอดูลระบุผู้เช่า
         จอยสติ๊ก                                         = ก้านควบคุม
        ซีพียู                                               = หน่วยประมวลผลกลาง
        คีย์บอร์ด                                          = แผงแป้นอักขระ
        Radio                                             =วิทยุ
        Communication                              =คมนาคม
        Post card                                       =ไปรษณียบัตร
        Editor                                            =บรรณาธิการ
        Police                                            =ตำรวจ
        Telegram                                       =โทรเลข                                    Telephone                                      =โทรศัพท์

        




     
      

แบบทดสอบหลังเรียน



เมื่อได้รู้จัก

   คำทับศัพท์
      และศัพท์บัญญัติ                      เรียบร้อยแล้ว 

         
มาทำแบบทดสอบหลังเรียน
       กันเถอะ ! 

            
คำชี้แจง : จงเลือกข้อที่คิดว่าถูกต้องที่สุด


๑. ข้อใดกล่าวถึงคำทับศัพท์ได้ถูกต้องที่สุด
ก. การทับศัพท์เป็นการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่
  เพื่อใช้สื่อความหมายได้ตรงกัน
ข. การทับศัพท์เป็นการสร้างคำใหม่ๆ  
  ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีต่างประเทศ
ค. การทับศัพท์เป็นการถ่ายเสียงภาษาเดิม 
  ออกเป็นภาษาไทยตามที่ออกเสียงกัน
ง. การทับศัพท์เป็นการปรับปรุงคำให้ใช้สื่อความหมาย 
  ในเฉพาะกลุ่มวงการต่างๆ

๒. ข้อใดจำเป็นต้องใช้คำต่างประเทศ
ก. ราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินขึ้นๆลงๆ ตามกลไกการตลาด
ข. รัฐบาลประกาศกำจัดคอร์รัปชั่นให้หมดไปจากประเทศไทย
ค. ยักษ์ใหญ่มือถือทุ่มโปรโมชั่นใหม่ๆ เฉือนกันดุเดือด
ง. เวลาขับรถต้องคาดเซฟตีเบลต์ทุกครั้ง

๓. ข้อใดจำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์
ก. สร้างภาพว่าอินโนเซ้นต์ บื้อเหมือนคุณยาย
ข. ให้กินกันแบบฟรี ฟรี ชื่อเสียงขึ้นชื่อลือชา
ค. ที่เธอเข้ามาชมเหมือนสะสมแสตมป์เซเว่น
ง. เป็นของกำนัลให้นางไว้ใช้ มีซีม่ากับคาลามายด์

๔. ข้อใดเป็นคำทับศัพท์ทุกคำ
ก. หม่อง     แฟลต     ดีวีดี
ข. อะไหล่    โลหะ      ตำรวจ
ค. เปิงมาง    กุหลาบ   คีย์บอร์ด
ง. บาทหลวง  สบู่       กะละแม

๕. ข้อใดเป็นคำศัพท์บัญญัติทุกคำ
ก. คอมพิวเตอร์  ซีพียู        อนันต์
ข. เครื่องพิมพ์   ธนาคาร     ห้องชุด
ค. อินฟินิตี้      ก้านควบคุม  โน้มถ่วง
ง. บล็อก        ภูมิแพ้       วัคซีน

เฉลยแบบทดสอบ
๑. ข้อใดกล่าวถึงคำทับศัพท์ได้ถูกต้องที่สุด
ก. การทับศัพท์เป็นการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ 
  เพื่อใช้สื่อความหมายได้ตรงกัน
ข. การทับศัพท์เป็นการสร้างคำใหม่ๆ 
  ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีต่างประเทศ
ค. การทับศัพท์เป็นการถ่ายเสียงภาษาเดิม
  ออกเป็นภาษาไทยตามที่ออกเสียงกัน
ง. การทับศัพท์เป็นการปรับปรุงคำให้ใช้สื่อความหมาย 
  ในเฉพาะกลุ่มวงการต่างๆ

๒. ข้อใดจำเป็นต้องใช้คำต่างประเทศ
ก. ราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินขึ้นๆลงๆ ตามกลไกการตลาด
ข. รัฐบาลประกาศกำจัดคอร์รัปชั่นให้หมดไปจากประเทศไทย
ค. ยักษ์ใหญ่มือถือทุ่มโปรโมชั่นใหม่ๆ เฉือนกันดุเดือด
ง. เวลาขับรถต้องคาดเซฟตีเบลต์ทุกครั้ง

๓. ข้อใดจำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์
ก. สร้างภาพว่าอินโนเซ้นต์ บื้อเหมือนคุณยาย
ข. ให้กินกันแบบฟรี ฟรี ชื่อเสียงขึ้นชื่อลือชา
ค. ที่เธอเข้ามาชมเหมือนสะสมแสตมป์เซเว่น
ง. เป็นของกำนัลให้นางไว้ใช้ มีซีม่ากับคาลามายด์

๔. ข้อใดเป็นคำทับศัพท์ทุกคำ
ก. หม่อง     แฟลต     ดีวีดี
ข. อะไหล่    โลหะ      ตำรวจ
ค. เปิงมาง    กุหลาบ   คีย์บอร์ด
ง. บาทหลวง  สบู่       กะละแม

๕. ข้อใดเป็นคำศัพท์บัญญัติทุกคำ
ก. คอมพิวเตอร์  ซีพียู        อนันต์
ข. เครื่องพิมพ์   ธนาคาร     ห้องชุด
ค. อินฟินิตี้      ก้านควบคุม  โน้มถ่วง
ง. บล็อก        ภูมิแพ้       วัคซีน




ถูกกี่ข้อกันหนาออเจ้า...







คณะผู้จัดทำ


คณะผู้จัดทำ

            

นางสาวชัชดารินทร์ ทานาลาด
รหัสนักศึกษา 60101201103 ชั้นปีที่1
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

    


   
   นางสาวเพ็ญนภา ไชยเพชร์

   รหัสนักศึกษา 60101201113  ชั้นปีที่ 1
   คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
   มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ทำไมต้องมีศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์

ทำไมต้องมีศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ ?           ไทยมีความสัมพันธ์กับต่างชาติด้วยเหตุผลหลายประการ มีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ด้วยวิธีก...